วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2555

ประเภทของคอมพิวเตอร์

             ประเภทของคอมพิวเตอร์ตามความสามารถของระบบ

    จำแนกออกได้เป็น 4 ชนิด โดยพิจารณาจาก ความสามารถในการเก็บข้อมูล และ ความเร็วในการประมวลผล เป็นหลัก ดังนี้

           1. ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super Computer)
   หมายถึงเครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีความสามารถในการประมวลผลสูงที่สุดโดยทั่วไปสร้างขึ้นเป็นการเฉพาะเพื่องานด้านวิทยาศาสตร์ที่ต้องการการประมวลผลซับซ้อนและต้องการความเร็วสูง เช่น งานวิจัยขีปนาวุธ งานโครงการอวกาศสหรัฐ (NASA) งานสื่อสารดาวเทียม หรืองานพยากรณ์อากาศ เป็นต้น

           2. เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)
   หมายถึงเครื่องประมวลผลข้อมูลที่มีส่วนความจำและความเร็วน้อยลงสามารถใช้ข้อมูลและคำสั่งของเครื่องรุ่นอื่นในตระกูล (Family) เดียวกันได้โดยไม่ต้องดัดแปลงแก้ไขใดๆ นอกจากนั้นยังสามารถทำงานในระบบเครือข่าย (Network) ได้เป็นอย่างดี โดยสามารถเชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ที่เรียกว่า เครื่องปลายทาง (Terminal) จำนวนมากได้ สามารถทำงานได้พร้อมกันหลายงาน (Multi Tasking) และใช้งานได้พร้อมกันหลายคน (Multi User) ปกติเครื่องชนิดนี้นิยมใช้ในธุรกิจขนาดใหญ่มีราคาตั้งแต่สิบล้านบาทไปจนถึงหลายร้อยล้านบาทตัวอย่างของเครื่องเมนเฟรมที่ใช้กันแพร่หลายก็คือ คอมพิวเตอร์ของธนาคารที่เชื่อมต่อไปยังตู้ ATM และสาขาของธนาคารทั่วประเทศนั่นเอง 

           3. มินิคอมพิวเตอร์ (Mini Computer)
   ธุรกิจและหน่วยงานที่มีขนาดเล็กไม่จำเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์ขนาดเมนเฟรมซึ่งมีราคาแพงผู้ผลิตคอมพิวเตอร์จึงพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีขนาดเล็กและมีราคาถูกลง เรียกว่าเครื่องมินิคอมพิวเตอร์โดยมีลักษณะพิเศษในการทำงานร่วมกับอุปกรณ์ประกอบรอบข้างที่มีความเร็วสูงได้มีการใช้แผ่นจานแม่เหล็กความจุสูงชนิดแข็ง (Harddisk) ในการเก็บรักษาข้อมูลสามารถอ่านเขียนข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว หน่วยงานและบริษัทที่ใช้คอมพิวเตอร์ขนาดนี้ ได้แก่ กรม กอง มหาวิทยาลัย ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงพยาบาล และโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ

            4.ไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer)
   หมายถึงเครื่องประมวลผลข้อมูลขนาดเล็กมีส่วนของหน่วยความจำและความเร็วในการประมวลผลน้อยที่สุดสามารถใช้งานได้ด้วยคนเดียว จึงมักถูกเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer : PC)
ปัจจุบัน ไมโครคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพสูงกว่าในสมัยก่อนมากอาจเท่ากับหรือมากกว่าเครื่องเมนเฟรมในยุคก่อน นอกจากนั้นยังราคาถูกลงมากดังนั้นจึงเป็นที่นิยมใช้มาก ทั้งตามหน่วยงานและบริษัทห้างร้าน ตลอดจนตามโรงเรียนสถานศึกษา และบ้านเรือนบริษัทที่ผลิตไมโครคอมพิวเตอร์ออกจำหน่ายจนประสบความสำเร็จเป็นบริษัทแรก คือบริษัทแอปเปิลคอมพิวเตอร์

    เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ จำแนกออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1.    แบบติดตั้งใช้งานอยู่กับที่บนโต๊ะทำงาน (Desktop Computer)






2.    แบบเคลื่อนย้ายได้ (Portable Computer) สามารถพกพาติดตัวอาศัยพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่จากภายนอก ส่วนใหญ่มักเรียกตามลักษณะของการใช้งานว่า Laptop Computer หรือ Notebook Computer, Tablet, Smartphone





วันจันทร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ข้อมูลและแหล่งของข้อมูล


ข้อมูล 
     คือ ข้อเท็จจริงที่เราสนใจ ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น เช่น
     - ข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล
พระยารัษฎานุประดิษฐ์

          เช่น ข้อมูลสำเนาทะเบียนบ้าน ประกอบด้วยข้อมูลบ้านเลขที่ ข้อมูลชื่อผู้อาศัยข้อมูลวันเดือนปีเกิด ข้อมูลบิดามารดา เป็นต้น
     - ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งของ 
          เช่น ข้อมูลรถยนต์ ที่มี่ยี่ห้อ ประเภทของรถ รุ่น ทะเบียนรถ ข้อมูลชุดนักเรียนที่มียี่ห้อ ราคา สี รูปแบบ ขนาด เป็นต้น
     - ข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือ
          เช่น ข้อมูลหนังสือพิมพ์ วารสาร ตำราทางวิชาการ เอกสารทางราชการ เป็นต้น
     - ข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่
 
          เช่น ข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยว ข้อมูลจังหวัด ข้อมูลโรงเรียน ข้อมูลโบราณที่สำคัญ เป็นต้น
ประเภทข้อมูล     ข้อมูลที่เราพบอาจอยู่ในรูปต่าง ๆ หลายรูปแบบ เช่น เป็นตัวเลข หรือข้อความตัวอักษร หรืออาจเป็นทั้งตัวเลข ตัวอักษร อยู่ด้วยกัน การกำหนดข้อมูล มีรูปแบบใดขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ การใช้งาน
     การแบ่งข้อมูล แบ่งออกเป็นหลายประเภทดังนี้
          1. ข้อมูลตัวเลข  ข้อมูลชนิดนี้ประกอบขึ้นจากตัวเลข ส่วนมากจะเป็นตัวเลขที่เราพบเห็นและใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น บันทึกรายรับ-รายจ่าย ราคาสินค้า เป็นต้น
          2. ข้อมูลตัวอักษร หรือตัวอักขระ  ข้อมูลชนิดนี้เป็นข้อมูลที่ประกอบขึ้นจากตัวอักษร ตัวเลข และเครื่องหมายต่าง ๆ เช่น การเขียนที่อยู่บนหน้าซองจดหมาย
          3. ข้อมูลภาพและเสียง  ข้อมูลชนิดนี้ เป็นข้อมูลในรูปแบบพิเศษ ที่เรารับผ่านทางหูด้วยการฟัง และผ่านทางตาด้วยการดู เช่น การฟังเพลง การดูภาพยนต์
แหล่งข้อมูล
     เราสามารถหาข้อมูลได้จากแหล่งต่าง ๆ ดังนี้
          - โทรทัศน์ ให้ประโยชน์ทั้งด้านบันเทิงและสาระความรู้ทั้งภาพและเสียง โดยผู้ชมจะได้ข้อมูลที่ทันเหตุการณ์เป็นแหล่งข้อมูลที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
          - วิทยุ ให้ข้อมูลแก่ผู้ฟังผ่านทางเสียง เช่น ข่าว เพลงและความรู้อื่น ๆ
          - หนังสือพิมพ์ ให้ข้อมูลในหลาย ๆ ด้าน เช่น เดียวกับโทรทัศน์ เป็นการให้ข้อมูลผ่านตัวอักษรและรูปภาพ
          - นิตยสาร/วารสาร ให้ข้อมูลหลากหลายประเภทเฉพาะด้านตามความสนใจ
          - คอมพิวเตอร์ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการประมวลผลข้อมูล สืบค้นความรู้ ความบันเทิง และข่าวสารต่าง ๆ ได้ โดยผ่านอินเตอร์เน็ต
          - ภูมิปัญญาท้องถิ่น เป็นแหล่งข้อมูลอีกประเภทหนึ่งที่สามารถใช้แสวงหาข้อมูลได้ เช่น บุคคล ศิลปหัตถกรรม ศิลปวัฒนธรรม
          - สภาพแวดล้อมธรรมชาติ  เป็นแหล่งข้อมูลที่อยู่ใกล้ตัวที่สุด ที่สามารถจะนำมาใช้ประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย เช่น ต้นไม้ แม่น้ำ ลำคอลง ภูเขา น้ำตก แหล่งท่องเที่ยง
การรวบรวมข้อมูล     การรวบรวมข้อมูลเราสามารถรวบรวมข้อมูลได้หลายวิธีดังนี้
          - การรวบรวมข้อมูลโดยการสอบถาม  วิธีนี้ผู้รวบรวมอาจใช้วิธีสอบถามหรือสัมภาษณ์จากผู้รู้ ที่เป็นแหล่งข้อมูลที่ต้องการ หรือจะสอบถามโดยการใช้แบบสอบถามก็ได้
          - การรวบรวมข้อมูลจากเอกสารต่าง ๆ  วิธีนี้ผู้รวบรวมสามารถหาเอกสารที่เป้นแหล่งข้อมูลได้มากมาย เช่น หนังสือ วารสาร สิ่งพิมพ์
          - การรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตการณ์  วิธีนี้ผู้รวบรวมข้อมูล่จะต้องเข้าไปเฝ้าสังเกตการณ์ต่าง ๆ ด้วยตนเอง เช่น นักข่าวไปเฝ้าการชุมนุมประท้วง นักวิทยาศาสตร์สัเกตผลการทดลองวิทยาศาสตร์ เป็นต้น
ประโยชน์ของข้อมูล     1. เพื่อการเรียนรู้ เราสามารถใช้ข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้รับมาจากวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพื หรือสิ่งอื่น ๆ มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียน นอกเหนือจากการเรียนในห้องเรียน
     2. เพื่อการสื่อสาร เมื่อเรามีข้อมูลต่าง ๆ ที่ตรงกับคนอื่นเราก็สามารถจะร่วมสนทนาพูดคุยกันถึงเรื่องนั้น ๆ ได้
     3. เพื่อการตัดสินใจ การที่เราตัดสินใจซื้อสิ่งของหรือทำสิ่งต่าง ๆ จำเป็นต้องมีข้อมูลที่เกี่ยวกับสิ่งเหล่านั้น เพื่อที่จะทำให้เราตัดสินใจได้ง่ายและถูกต้อง
     ข้อมูลมีประโยชน์ต่อเรามากมาย ทั้งทางตรงและทางอ้อม ข้อมูลอาจถูกนำไปใช้ประโยชน์เลย หรือนำไปผ่านกรรมวิธีที่เรียกว่า การประมวลผล โดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เช่น การบวก ลบ คูณ หาร โดยใช้เครื่องคิดเลข หรือกระบวนการอื่น ๆ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว เราเรียกว่า สารสนเทศ ผู้รับสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เช่น ข้อมูลการสอบ, ข้อมูลที่อยู่ของนักเรียน, ข้อมูลพยากรณ์อากาศ, ข้อมูลการยืมคืนหนังสือห้องสมุด
คุณสมบัติของข้อมูลที่ดี
     1. ข้อมูลมีความถูกต้องตรางกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
     2. ข้อมูลเป็นปัจจุบัน สามารถตรวจสอบได้ ข้อมูลมีแหล่งข้อมูลที่สามารถอ้างอิงได้
     3. ข้อมูลที่ความสมบูรณ์ สามารถตรวจสอบ และสามารถอ้างอิงได้
     4. ข้อมูลมีความชัดเจนกะทัดรัด
     5. ข้อมูลมีความสอดคล้องกับเหตุการณ์ปัจจุบัน
ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน